Home

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

Cooperative Learning

Cooperative Learning

            CL involves structuring classes around small groups that work together in such a way that each group member's success is dependent on the group's success.  CL isn’t just having students sit side-by-side at the same table to talk with each other as one student does all the work and the others put their names on the product as well. Cooperation involves much more than being physically near other students, discussing material, helping, or sharing material with other students.



Type

1. Informal Cooperative Learning Group consists of having students work together to achieve a learning goal in temporary. During a lecture, informal cooperative learning can be used to draw student attention on the material through small groups throughout the lesson or by discussion at the end of a lesson, and typically involves groups of two (e.g. turn to your partner discussions). Discussion typically have four components that include: 
            1. Formulating a response to questions asked by the educator
            2. Sharing responses to the questions asked with a partner
            3. Listening to a partner’s responses to the same question
            4. Creating a new well-developed answer

The teacher’s role is to keep students more actively engaged. Informal cooperative learning ensures students are actively involved in understanding what is being presented.  It also provides time for teachers to move around the class listening to what students are saying.  Listening to student discussions can give instructors direction and insight into how well students understand the concepts and material being as well as increase the individual accountability of participating in the discussions.

2. Formal CLG consists of 2-6 students working together with discussions lasting for a few minutes up to an entire period to achieve shared learning goals and complete jointly specific tasks and assignments. Formal cooperative learning is structured, facilitated, and monitored by the educator over time and is used to achieve group goals in task work (e.g. completing a unit). Types of formal cooperative learning strategies include:

           - The jigsaw technique
           - Assignments that involve group problem solving and decision making
           - Laboratory or experiment assignments
           - Peer review work (e.g. editing writing assignments).
           - Jigsaw activities are wonderful because the student assumes the role of the 
teacher on a given topic and is in charge of teaching the topic to a classmate. The idea is that if students can teach something, they have already learned the material.

3. Base group learning (e.g., a long term study group) is effective for learning complex subject matter over the course or semester and establishes caring, supportive peer relationships, which in turn motivates and strengthens the student’s commitment to the group’s education while increasing self-esteem and self-worth. Base group approaches also make the students accountable to educating their peer group in the event that a member was absent for a lesson. This is effective both for individual learning, as well as social support.

Elements 

Five key elements differentiate cooperative learning from simply putting students into groups to learn (Johnson et al., 2006).
1. Positive Interdependence: You'll know when you've succeeded in structuring positive interdependence when students fully participate and put forth effort within their group. Each group member has a task/role/responsibility therefore must believe that they are responsible for their learning and their group as well.
2. Individual Accountability: The essence of individual accountability in cooperative learning is "students learn together, but perform alone." This ensures that no one can "hitch-hike" on the work of others. A lesson's goals must be clear enough that students are able to measure whether (a) the group is successful in achieving them, and (b) individual members are successful in achieving them as well.
3. Face-to-Face (Promotive) Interaction: Important cognitive activities and interpersonal dynamics only occur when students promote each other's learning. This includes oral explanations of how to solve problems, discussing the nature of the concepts being learned, and connecting present learning with past knowledge. It is through face-to-face, promotive interaction that members become personally committed to each other as well as to their mutual goals.
4. Interpersonal and Small Group Social Skills: students learn academic subject (task work) and also interpersonal and small group skills (teamwork). Thus, a group must know how to provide effective leadership, decision-making, trust-building, communication, and conflict management. Given the complexity of these skills, teachers can encourage much higher performance by teaching cooperative skill components within cooperative lessons. As students develop these skills, later group projects will probably run more smoothly and efficiently than early ones.
5. Group Processing: After completing their task, students must be given time and procedures for analyzing how well their learning groups are functioning and how well social skills are being employed. Group processing involves both taskwork and teamwork, with an eye to improving it on the next project.



Why

Research has shown that students who work in cooperative groups do better on tests, especially with regard to reasoning and critical thinking skills, are more like to make friends in class, have more self-esteem, and like the subject and college better than those that do not (Johnson and Johnson, 1989 ). Students who are learning cooperatively are more active participants in the learning process (Lord, 2001). Also, they care about the class and the material and they are more personally engaged.



Techniques

          - STAD (Student Teams Achievement Division): consists of heterogeneous group of 4 students working together on a given topic and complete a work product (e.g., a worksheet of answer or problem solutions); Then students take individual quizzes. Quiz scores are compared to the past performance. Team scores are computed on the team member’s scores. The instructor shows the high-score team on a bulletin board, a class newsletter, etc.
          - TGT (Teams Games Tournaments): similar to STAD, but the quiz is replaced with academic games tournament. Students compete with players who are in the same levels from other team to earn points. Then each team sum up the points from their team members to be one single team score.
         - Numbered head together: Students are placed in groups and each person is given a number. The teacher poses a question and students "put their heads together" to figure out the answer. The teacher calls a specific number to respond as spokesperson for the group. By having students work together in a group, this strategy ensures that each member knows the answer to problems or questions asked by the teacher. Because no one knows which number will be called, all team members must be prepared.
          - Jigsaw I: Students are members of two groups: home group and expert group. In the heterogeneous home group, students are each assigned a different topic. Once a topic has been identified, students leave the home group and group with the other students with their assigned topic. In the new group, students learn the material together before returning to their home group. Once back in their home group, each student teaches his or her assigned topic
          - Jigsaw II: Robert Slavin's (1980) variation of Jigsaw in which members of the home group are assigned the same material, but focus on separate portions of the material. Each member must become an "expert" on his or her assigned portion and teach the other members of the home group.
         - Reverse Jigsaw: created by Timothy Hedeen. It differs from the original 
Jigsaw during the teaching portion of the activity. In the Reverse Jigsaw technique, students in the expert groups teach the whole class rather than return to their home groups to teach the content.
       - Think Pair Share: originally developed by Frank T. Lyman (1981). It allows students to contemplate a posed question or problem silently. The student may write down thoughts or simply just brainstorm in his or her head. When prompted, the student pairs up with a peer and discusses his or her ideas and then listens to the ideas of his or her partner. Following pair dialogue, the teacher solicits responses from the whole group.
     - Group investigation: developed by Shlomo and Yael Sharan. Students form 2 – 6 members groups. Then choose subtopic from a unit being studied by entire class. Team members gather information, review, analyze and reach to conclusions. Then each team presents its finding to the whole class. It can be role play, panels, simulations, etc instead of lecturing or telling.
     - CIRC (Cooperated Integrated Reading Composition)
     - Learning Together: developed by David and Roger Johnson. Students work 
on assignment sheets in 4 – 5 members’ heterogeneous groups. The groups hand in a single sheet product and receive praise and rewards. This emphasizes team-bulding activities before students begin working together and regular discussions within groups about how well they are working together 

การเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

             วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาสำคัญต่อการเรียนภาษาต่างประเทศ เพราะมันแยกออกจากภาษาไม่ได้ ผู้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงต้องเรียนรู้วัฒนธรรมไปพร้อมๆกัน ผู้สอนภาษาต่างประเทศจึงต้องมีความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

ความสำคัญของวัฒนธรรมเจ้าของภาษา

            ขณะที่คนพูดภาษาใดภาษาหนึ่งนั้น จะสะท้อนวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ออกมาด้วย แสดงให้เห็นว่าความสามารถทางภาษาอย่าเดียวไม่เพียงพอในการเรียนรู้ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เรียนจำเป็นต้องรับรู้วัฒนธรรมของภาษานั้นๆด้วย เช่น ภาษาที่ใช้ในการขอความช่วยเหลือ แสดงคำขอบคุณ แสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เป็นต้น นอกจากนั้นยังต้องรู้ถึงรูปแบบพฤติกรรมที่เหมาะสมในการพูดภาษา ซึ่งแต่ละชุมชนก็แตกต่างกัน
            ดังนั้น การสอนภาษาและวัฒนธรรมจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ครามัช กล่าวว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมนั้นผู้สอนต้องจัดบรรยากาศในห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้สำรวจวัฒนธรรมเป้าหมายได้ด้วยตนเอง ซึ่งนักวิจัยพบว่าการใช้สิ่งของของเจ้าของภาษากระตุ้นให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความคิด  เช่น อุปกรณ์การปรุงอาหารทำให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความคิดไปถึงอาหารที่กลุ่มคนในวัฒนธรรมเป้าหมายรับประทาน โยงไปถึงสภาพภูมิศาสตร์ฤดูกาลและอื่นๆ         ซึ่งวิธีนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

ส่วนประกอบของวัฒนธรรม

            Moran แบ่งส่วนประกอบของวัฒนธรรมออกเป็น 5 มิติ คือ
     1. Product หมายถึง สิ่งของที่คนในวัฒนธรรมนั้นประดิษฐ์ขึ้น หรือสิ่งที่คนในชุมชนนั้นรับมาจากวัฒนธรรมอื่น รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เช่น พืชและสัตว์ ผลผลิตที่สัมผัสได้ น เครื่องมือต่างๆ เสื้อผ้า งานเขียน และสิ่งก่อสร้างไปจนถึงสิ่งที่ละเอียดกว่านั้น เช่น ภาษาเขียน ภาษาพูด ดนตรี การเมือง และศาสนา
      2. Practice หมายถึง การประพฤติปฏิบัติ การปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในวัฒนธรรมนั้นๆ รวมไปถึงรูปแบบของภาษาต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารทั้งที่เป็นภาษาพูดและไม่ใช่ภาษาพูด รวมไปถึงข้อพึงปฏิบัติและข้อห้ามต่างๆ
     3. Perspective หมายถึง การรับรู้ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติที่แสดงออกในรูปแบบผลผลิตและการปฏิบัติ
   4. Community หมายถึง สถานการณ์และกลุ่มคนในสังคมที่ปฏิบัติตามวัฒนธรรม บริบท เริ่มจากชุมชนใหญ่ไปจนถึงชุมชนเล็กๆ เช่น ชาติ ภาษา เพศ เชื้อชาติ ศาสนา พรรคการเมือง ชมรม วัฒนธรรมชุมชน ชุมชนเล็กสัมพันธ์กับชุมชนใหญ่ ซึ่งลักษณะสัมพันธ์มีหลายมิติ เช่น สัมพันธ์ลักษณะแยก ร่วมกัน และขัดแย้งกัน  
    5. Person หมายถึง บุคคลในชุมชนที่มีความแตกต่างหลากหลาย แม้จะอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันแต่ว่าแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัว


          Tomalin and Stempleski แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 3 ส่วน คือ Product, Idea and behavior

                  Product      = วรรณคดี คติชาวบ้าน ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์ด้วยฝีมือคน
                  Idea            = ความเชื่อ คุณค่า/ค่านิยม สถาบัน
                 Behavior    = ประเพณี ลักษณะนิสัย การแต่งกาย อาหาร นันทนาการ

            นอกจากนั้น ยังแยกวัฒนธรรมเป็น 2 ส่วน คือ ซี ใหญ่ (Capital or big “C”) หมายถึง history geography literature arts and music ส่วน ซี เล็ก (little C) หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี ลักษณะนิสัย การแต่งกาย อาหาร การใช้เวลาว่าง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรม

            Peterson and Coltrane กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมดังต่อไปนี้

                    1. การใช้เนื้อหาจากสื่อจริง authentic material การเรียนรู้วัฒนธรรมเจ้าจองภาษาจากสิ่งของของเจ้าของภาษา ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ด้านวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาที่แท้จริง สื่อจริงได้แก่ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ เป็นต้น เช่น ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอเรียนรู้เกี่ยวกับการทักทาย โดยในขณะที่ดูวีดีโอผู้สอนอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่ฟังมากขึ้น
              2. สุภาษิต proverb การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุภาษิตนี้ผู้สอนให้ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับสุภาษิตของภาษเป้าหมาย เช่น ให้ผู้เรียนเรียนอภิปรายเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสุภาษิตในภาษาอังกฤษกับสุภาษิตในภาษาของผู้เรียนเอง ซึ่งความแตกต่างนั้นอาจมากจากพื้นฐานทางวัฒนธรรม
               3. Role play เช่น หลังจากที่ผู้เรียนเรียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมการปฏิบัติต่อกันของคนในวัฒนธรรมเป้าหมาย เช่น การปฏิบัติต่อกันในวัยเดียวกันและผู้ที่มีอายุมากกว่า ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติ โดยอาจยกสถานการณ์การทักทายที่ไม่เหมาะสม ผู้เรียนคนอื่นๆ สังเกตการแสดงและอภิปรายสาเหตุและเหตุผลที่มีการสื่อสารผิดพลาดเช่นนั้น และหลังจากนั้นผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติในสถานการณ์เดียวกัน แต่เป็นการสื่อสารที่ถูกต้องตามวัฒนธรรมเจ้าของภาษา
                     4. สรุปย่อเกี่ยวกับวัฒนธรรม กิจกรรมนี้ใช้สิ่งของของเจ้าของภาษา เช่น ตุ๊กตาปั้น 
เครื่องมือต่างๆ เครื่องประดับ โดยให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของนั้นๆ แล้วสรุปสั้นๆ นำเสนอโดยการพูดหน้าชั้นเรียน
                     5. ผู้เรียนเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม กิจกรรมนี้ทำได้โดย การเชิญเจ้าของภาษามา
พบปะพูดคุย ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมกับเจ้าของภาษา
                     6. Interview ผู้สอนให้ผู้เรียนสัมภาษณ์เจ้าของภาษาแล้วจดบันทึกหรือบันทึกวีดีโอ
                     7. Literature เป็นแหล่งให้ข้อมูลทางวัฒนธรรมที่ดีแหล่งหนึ่ง ผู้สอนให้ผู้เรียน
อ่านโคลงหรือวรรณกรรมแล้วให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลด้านวัฒนธรรมในวรรณกรรมนั้นๆ
                     8. Film ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีกว่าหนังสือ ผลการวิจัยต่างก็สนับสนุนว่าภาพยนตร์เป็น
สื่อที่เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนกับภาษาและวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนต่างลงความเห็นว่าความรู้ด้านวัฒนธรรมที่ผู้เรียนได้รับมากส่วนมากนั้นมากจากการดูวีดีโอหรือภาพยนตร์ต่างๆที่ผู้สอนนำมาจัดกิจกรรมมากกว่าการใช้สื่ออื่นๆ


            Cullen และ Sato กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนร็ทางวัฒนธรรมประสบความสำเร็จมี 3 ประการ คือ


            1. แหล่งข้อมูล information source
            2. Activity ปกติแล้วหนังสือเรียนต่างๆ ส่วนมากเน้นกิจกรรมวัฒนธรรม แต่เป็นกิจกรรมการ
อภิปราย เสียส่วยมากซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้วัฒนธรรมเป็นอย่างดี แต่ปัญหา คือ ความสามารถในการใช้ภาษาของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนบางคนไม่สามารถทำกิจกรรมอภิปรายได้ ดังนั้นผู้สอนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนก่อนที่จะทำกิจกรรมอภิปราย นอกจากนั้นแล้วยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายเช่น
                   2.1 quiz
                   2.2 อนุทินสะท้อนการปฏิบัติ
                   2.3 การเล่าใหม่
                   2.4 การสังเกต
                   2.5 การคาดเดา
                   2.6 การค้นคว้าวิจัย
          3. Selling point คือ ผู้สอนควรหาจุดขายหรือจุดที่ผู้เรียนสนใจหลายๆ ประเด็น ไม่ควรนำเสนอวัฒนธรรมด้านเดียวคือเฉพาะด้านบวกเท่านั้น แต่ควรนำเสนอหลายแง่มุมของวัฒนธรรม หัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ควรนำเสนอมีดังนี้
                        สิ่งที่ดึงดูดความสนใจ VS สิ่งที่ไม่ดึงดูดความสนใจ
                        ความเหมือน VS  ความต่าง
                        ด้านมืดของวัฒนธรรม VS ด้านสว่างของวัฒนธรรม
                        ประวัติศาสตร์ VS  ปัจจุบัน

            Cullen and Sato ยังเสนอหลักการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมดังนี้

             1. เชื่อมโยงกับผู้เรียน โดยการโยงเนื้อหาต่างๆ ให้สัมพันธ์กับผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจวัฒนธรรมมากขึ้น
                2. จัดการเรียนการสอนในรูปของกิจกรรมไม่ใช่เฉพาะการอภิปราย ผู้สอนควรออก
แบบกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากกิจกรรมอภิปรายอย่างเดียว เช่น การถามตอบ กิจกรรมสำรวจ เป็นต้น
                3. กำหนดความยากง่ายของภาษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียน ผู้สอนต้องเข้าใจว่า
ผู้เรียนไม่เข้าใจทุกอย่างที่ผู้สอนพูดและไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าใจทุกคำ เพราะการที่ผู้เรียนไม่เข้าใจทุกคำนั้นเป็นการท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้ แต่ถ้าเนื้อหายากเกินไปอาจทำให้ผู้เรียนเลิกสนใจ
          4 น่าสนใจ ผู้สอนเรียนรู้ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน แล้วบอกแบบกิจกรรมให้น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้นและอยากเข้าร่วมกิจกรรม
              5. กิจกรรมกลุ่ม

              6. ไม่ควรสอนเนื้อหามากเกินไป เพราะวัฒนธรรมเป็นเรื่องกว้างขวาง ผู้สอนไม่ต้องกังวล
ว่าจะสอนไม่ครบเนื้อหา แต่จงคิดว่าการช่วยให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้วัฒนธรรมของผู้อื่น ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีและต่อไปก็จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ทฤษฎีพหุปัญญา (The Theory of Multiple Intelligence)


          ทฤษฎีพหุปัญญาคิดค้นขึ้นโดย Dr. Howard Gardner ในปี ค. ศ. 1983 แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ก่อตั้งทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปัญญา” ไว้ดังนี้
          “ปัญญา คือความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในสังคม”
          ทฤษฎีของเขาอธิบายโต้แย้งว่าความฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียงพอที่จะชี้นำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ในความคิดของเขาเด็กที่ฝึกคูณเลข(คณิตศาสตร์) ได้อย่างคล่องแคล่วไม่จำเป็นว่าจะฉลาดกว่าคนที่คิดเลขไม่ค่อยได้
          เด็กคนที่สองอาจมีปัญญาชนิดอื่นที่แกร่งกว่าก็ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากวัตถุดิบที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน เขาอาจจะทำได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์หรืออาจจะกำลังดูผ่าน กระบวนการเรียนรู้การคูณที่ระดับพื้นฐานที่ลึกซึ้งกว่าซึ่งซ่อนศักยภาพ ที่เหนือชั้นกว่าปัญญาทางคณิตศาสตร์ไว้สูงกว่าคนที่แค่จำหลักคิดได้เท่านั้น
การ์ดเนอร์นั้น มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสติปัญญาที่สำคัญ 2 ประการ คือ
          1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษา และทางคณิตศาสตร์เท่า นั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน (ดังจะได้กล่าวต่อไป) แต่การ์ดเนอร์เองก็กล่าวว่าอาจจะมีมากกว่า 8 ประเภท โดยคนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปนี้ เมื่อผสมผสานออกมาแล้วจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล
          2. เชาวน์ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มั่นคงถาวรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย หากแต่สามารถเปลี่ยน แปลงได้ตามสภาพแวดล้อม และการส่งเสริมที่เหมาะสม
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
          1. มนุษย์มีความสามารถทางปัญญาแบ่งออกได้อย่างน้อย 8 ด้าน
          2. จากการศึกษาเรื่องสมองปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
          3. คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้านบางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง
          4. ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
          5. ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่นในการดำรงชีวิตประจำวันเราอาจต้องใช้ปัญญาในด้านภาษาในการพูด อ่าน เขียน ปัญญาด้านคิดคำนวณ ในการคิดเงินทอง ปัญญาด้านมนุษย์ สัมพันธ์ในการพบปะเข้าสังคมทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการใช้ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
          6. ปัญญาแต่ละด้านจะมีความสามารถในหลาย ๆ ทาง ยกตัวอย่างเช่นคนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญญาทางภาษา แต่เขาอาจจะเป็นคนเล่าเรื่องที่เก่งหรือพูดได้น่าฟัง

ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบ่งออกเป็น  8 ด้าน ได้แก่
2.1 สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
          สติปัญญาด้านภาษา เป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงออกในการสื่อความหมาย โดยมีสมองส่วน Brocals Area ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความตามหลักภาษา หากสมองส่วนนี้อาจจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง แต่ยังฟังหรืออ่านสิ่งต่างๆ แล้วเข้าใจได้อยู่
          ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านภาษา
          - เป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าของหนังสือ ชอบอ่านหนังสือแล้วพูดหรือเล่าในสิ่งที่อ่าน
          - มีความจำดีในชื่อต่างๆ สถานที่ วัน เดือน ปี หรือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่พบ
          - สามารถนึกคิดถ้อยคำต่างๆ ในใจได้ก่อนที่จะพูดหรืออ่านสิ่งเหล่านั้น
          - สื่อสารกับผู้อื่นโดยใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี
          - สนุกสนานกับการเล่นเกมที่เกี่ยวกับการใช้คำ (อักษรไขว้ ต่อคำ) การพูดคำสัมผัส (การแต่งคำประพันธ์/กลอนสด) การเล่นคำผวน
-         เป็นผู้มีความสามารถด้านการเขียน สะกดคำได้อย่างถูกต้อง ใช้คำศัพท์ต่างๆ ได้อย่างดี
          - มีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอื่นได้อย่างดี
          - มีความพยายามที่จะพัฒนาการใช้ภาษาของตนเอง จะสามารถสร้างคำทั้งในการพูดและการเขียนในรูปแบบใหม่ได้อย่างสม่ำเสมอ
          - เป็นคนรักการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่อง แต่งคำประพันธ์ โต้วาที เล่าขำขัน ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่างๆ
          - ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
          - มีความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา เช่น กวี นักพูด นักเขียน นักกฎหมาย เป็นต้น
          - มีทักษะทางภาษาที่มีประสิทธิภาพทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน

2.2 สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)
          สติปัญญาในด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ และด้านภาษาที่กล่าวไปข้างต้น มักจะถือว่าเป็นสติปัญญาขั้นทั่วไปของมนุษย์ มักจะวัดผ่านแบบทดสอบต่างๆ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้มีสมองส่วนควบคุมกลไกในการแก้ปัญหาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์กล่าวถึงสติปัญญาในด้านนี้ว่า มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
          1. ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (mathematics)
          2. ด้านวิทยาศาสตร์ (Science)
          3. ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic)

          ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์
          - เข้าใจสิ่งต่างๆ และบทบาทของสิ่งเหล่านั้นตามสภาพที่เป็นอยู่ในสิ่งแวดล้อม
          - เข้าใจในเรื่องจำนวน ตัวเลข และมีทักษะในการคิดคำนวณ เช่น การประมาณค่า การทำนายค่าทางสถิติ การแสดงผลข้อมูลโดยกราฟแบบต่างๆ รวมทั้งรู้จักใช้เทคนิคในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
          - มีทักษะในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาเหตุและผล (Critical Thinking)
          - เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยรู้จักใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อแสดงในสิ่งที่เป็นนามธรรม สามารถอธิบายเรื่องมโนมติในเรื่องต่างๆ ได้
          - มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) รู้จักรวบรวมข้อมูล ตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบสมมติฐาน และลงข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาที่พบได้
          - ชอบศึกษาหรือเรียนในวิชาที่ซับซ้อน เช่น แคลคูลัส วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
          - ชอบในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ การใช้เหตุผล และวิทยาศาสตร์ เช่น นักบัญชี นักวิทยาศาสตร์ นักคอมพิวเตอร์ นักกฎหมาย และวิศวกร
          - มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ชอบศึกษากลไกการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ

2.3  สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily – Kinesthetic Intelligence)
          สติปัญญาในด้านนี้เป็นความสามารถในการใช้ส่วนของร่างกายเพื่อการแสดงออก สร้าง สรรค์ หรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาในด้านนี้จะมีสมองส่วนที่เรียกว่า Cortex โดยสมองส่วนหนึ่งจะเป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย อีกด้านหนึ่งไขว้กัน (ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา) คนที่ถนัดขวาจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมาตั้งแต่เด็ก
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
          - ชอบสำรวจสภาพแวดล้อม วัตถุต่างๆ โดยการสัมผัส จับต้อง เคลื่อนไหวในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
          - เรียนรู้ได้ดีเมื่อได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง จดจำได้ดีในสิ่งที่ลงมือปฏิบัติมากกว่าฟัง หรือสังเกตเพียงอย่างเดียว
          - ชอบเรียนในสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทัศนศึกษา แบบจำลองสิ่งต่างๆ เล่นบทบาทสมมติ เกม การออกกำลังกาย
          - แสดงทักษะในการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว มีความ สามารถด้านกีฬา เป็นนักกีฬา
          - รับรู้และตอบรับกับสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยระบบทางกายภาพ
          - มีทักษะทางการแสดง กีฬา เต้นรำ เย็บปักถักร้อย แกะสลัก ดนตรี เช่น keyboard
          - ประดิษฐ์คิดค้นวิธีใหม่ๆ ที่ใช้ทักษะทางร่างกาย เช่น ออกแบบท่าทาง การเต้นรำ คิดกีฬาใหม่ๆ หรือกิจกรรมทางกายภาพด้านอื่นๆ
          - มีลักษณะที่เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหว คล่องแคล่ว และสนุกกับการอยู่กลางแจ้งมากกว่าในร่ม ไม่ชอบนั่งนิ่งเป็นเวลานานๆ
          - ชอบทำงานต่างๆ ที่ใช้มือ ชอบสิ่งของที่จะนำมาสร้างหรือประดิษฐ์เป็นสิ่งต่างๆ ได้
          - ชอบแยกแยะสิ่งต่างๆ เพื่อสำรวจส่วนประกอบต่างๆ และสามารถประกอบเข้ารูปเหมือนเดิม
          - สนใจในวิชาชีพที่เกี่ยวกับการกีฬา เต้นรำ ศัลยแพทย์ ช่างก่อสร้าง นักประดิษฐ์ เป็นต้น

2.4 สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial Intelligence)
          เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้เป็นเชาวน์ปัญญาที่มนุษย์มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์วาดภาพเพื่อสื่อสารความหมายมาตั้งแต่สมัยนั้น
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์
          - ชอบมองและสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นได้ดี ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ลักษณะ สี
          - บอกตำแหน่งและทิศทางของวัตถุสิ่งของต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้อง
          - สามารถอธิบายรายละเอียดของภาพหรือแผนผังต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
          - ชอบการเขียนภาพ วาดภาพ ประดิษฐ์วัตถุสิ่งของ ทั้งงานปั้นและงานฝีมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์
          - ชอบเล่นเกมที่เกี่ยวกับการสร้างภาพหรือจินตนาการในใจ เช่น หมากรุก หมากฮอส อักษรไขว้ ภาพต่อ (Jigsaw) เป็นต้น
          - เขียนแผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
          - มีความสนใจในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับศิลปะ เช่น นักถ่ายรูป วิศวกร นักออกแบบ จิตรกร รวมทั้งนักบิน สถาปนิก
          - สร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่เกี่ยวกับงานศิลป์เสมอ
          - มีมุมมองในสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างไปจากคนอื่น (New perspective) รวมทั้งมองเห็นในสิ่งที่ซ่อนหรือแฝงอยู่โดยที่คนอื่นอาจไม่เห็นหรือไม่เข้าใจ เช่น การมองภาพศิลปะ

2.5 สติปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
          เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาตอนบน บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ  โดยที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความสามารถ เช่น เล่นเปียโนได้ แต่ไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ หรือ บางครั้งในการเรียนทฤษฎีดนตรี อาจจะสอบตก แต่ร้องเพลงได้ไพเราะ เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านดนตรี
          - เป็นผู้มีความสุข สนุกสนานกับการฟังเพลงจากวิทยุ เทป ซีดี
          - ชอบเคาะมือ เคาะเท้า เป็นจังหวะหรือ ผิวปาก ฮัมเพลง ในขณะทำงาน
          - รู้จักท่วงทำนอง จังหวะ ลีลาของเพลงต่างๆ มากมาย
          - ร้องเพลงได้ไพเราะหรือเล่นดนตรีต่างๆ เก่ง
          - มีท่วงที จังหวะ  และลีลาในการพูดหรือเคลื่อนไหว ที่แสดงออกทานดนตรีได้อย่างเด่นชัด
          - ชอบร้องเพลงคลอตามขณะเปิดเพลง ชอบการแสดงดนตรี (Concert) ชอบเล่นเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ
          - ชอบสะสมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับดนตรี เช่น เทปเพลง เนื้อเพลง ซีดี วีดีโอเพลง เครื่องดนตรีต่างๆ เป็นต้น
          - สนใจฟังเสียงดนตรี หรือเสียงอื่นๆ รอบๆ ตัว และพยายามหาโอกาสในการฟัง สามารถคิดประกอบกับเสียงดนตรี หรือเสียงธรรมชาติอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
          - สามารถฟังและตอบรับกับเสียงต่างๆ รอบตัว แล้วเรียบเรียงเสียงประสานให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายได้
          - สามารถพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีได้ดี ทั้งการร้องเดี่ยว หรือกับคนอื่นๆ ได้
          - มีความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวกับดนตรี เช่น นักร้อง นักดนตรี ครูสอนดนตรี คนทำเครื่องดนตรี นักแต่งเพลง ผู้อำนวยเพลง เป็นต้น

2.6 สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)
          เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า หากสมองด้านนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น
          - มีความสัมพันธ์กับครอบครัวและชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
          - สร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นในสังคม
          - พยายามใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อเข้าไปมีส่วนสัมพันธ์กับผู้อื่น
          - รับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด แรงจูงใจ พฤติกรรม และวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้อื่น
          - เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานกับผู้อื่น และสามารถรับบทบาทหลายอย่างที่เหมาะสมตั้งแต่ผู้นำจนถึงผู้ตามกลุ่ม
          - มีความสามารถโน้มน้าว ชักจูง ในการแสดงความคิดเห็น หรือการกระทำของผู้อื่น
          - มีความเข้าใจและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้วยวาจาและไม่ใช้วาจา
          - ปรับพฤติกรรมเข้ากับสภาพแวดล้อมหรือกลุ่มคนที่แตกต่าง
          - รับรู้ความคิดที่หลากหลายในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคม หรือการเมืองต่างๆ ได้
          - สนใจพัฒนากระบวนการหรือรูปแบบต่างๆ ทางสังคม
          - ชอบการปรึกษาหารือในปัญหาต่างๆ กับผู้อื่น มากกว่าที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง
          - มีเพื่อนมาก โดยเฉพาะที่สนิทสนมมากๆ อย่างน้อยที่สุด 3 คน
          - ชอบคุย สนุกกับการได้เข้าสังคม พบปะผู้คน
          - ชอบการเล่นเกม กีฬา ที่มีลักษณะการเล่นเป็นกลุ่ม
          - อาสาสมัครที่จะร่วมทำงานกับผู้อื่นในเรื่องใหม่ๆ เสมอ
          - แสดงความสามารถในการเป็นผู้นำ หาเพื่อนๆ ร่วมปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา
          - เป็นสมาชิกของชมรม องค์กร หรือคณะกรรมการต่างๆ ที่มีความคล่องแคล่วและกระตือรือร้น
          - มักเป็นผู้ที่มีผู้ขอคำปรึกษาหรือขอคำแนะนำต่างๆ
          - แสดงความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น นักการ เมือง ผู้นำทางศาสนา ครู นักแนะแนว นักประชาสัมพันธ์ พิธีกร นักนิเทศศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

2.7     สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
          บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไป ผู้ที่ไม่มีสติปัญญาในด้านนี้ มักจะมีบุคลิกเฉื่อยชา เชื่องช้า ไม่ยินดียินร้ายและเศร้าซึม
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง
          - มีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมและมีขอบเขต
          - แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกในเรื่องต่างๆ อย่างพอเหมาะ
          - มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่แน่นอนและในรูปแบบที่ถูกต้อง
          - ทำงานได้ด้วยตนเอง
          - มีพัฒนาการในด้านการเรียนรู้และบุคลิกภาพ
          - สามารถทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เป็นประสบการณ์ของชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
          - เข้าใจถึงความสำคัญของตัวเองที่มีอิทธิพลหรือมีบทบาทและความสัมพันธ์ต่อบุคคลอื่น

2.8     สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา (Nationalism Intelligence)
          เชาวน์ปัญญาในด้านนี้ การ์ดเนอร์ได้เพิ่มหลังจากที่ตีพิมพ์หนังสือ “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” แล้ว แต่ก็ได้กล่าวถึงลักษณะของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ในภายหลังว่า เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของบุคคลที่มีสติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง
          -  เป็นคนชอบสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์
          -  สนใจสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติรอบตัว
          -  สนใจความเป็นไปในสังคมรอบตัว ชอบศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ การดำรงชีวิตจิตวิทยา
          -  คิดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม
          -  เข้าใจธรรมชาติของพืชและสัตว์ได้เป็นอย่างดี รู้จักชื่อต้นไม้ ดอกไม้หลายชนิด
          -  ไวต่อความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงของดิน ฟ้า อากาศ
          -  สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
          -  มีความรู้เรื่องดวงดาว จักรวาล สนใจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

การประยุกต์ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญากับการสอนในชั้นเรียน
          1. เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน มิใช่มุ่งพัฒนาแต่เพียงเชาวน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ดังเช่นในอดีต เรามักจะมีการเน้นการพัฒนาด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์หรือด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อันเป็นการพัฒนาสมองซีกซ้ายเป็นหลัก ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านอื่น ๆ เท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เรียนที่มีเชาวน์ปัญญาด้านอื่นสูง จะขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาในด้านที่ตนมีความสามารถหรือถนัดเป็นพิเศษ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของสติปัญญาหลาย ๆ ด้าน จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมอัจฉริยภาพหรือความสามารถเฉพาะตนของผู้เรียนไปในตัว
          2. เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน ตัว อย่างเช่น เด็กที่มีเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีสูงจะพัฒนาปัญญาด้านดนตรีของตนไปอย่างรวดเร็ว ต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
          3. เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน การผสมผสานของความสามารถด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่ง เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน และความแตกต่างที่หลากหลาย (Diversity) นี้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังนั้น กระบวนการคิดที่ว่าคนนี้โง่ หรือเก่งกว่าคนนั้นคนนี้จึงควรจะเปลี่ยนไป การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น  รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่นนี้ ผู้เรียนก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง ในขณะเดียวกันก็มีความเคารพในผู้อื่น และอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน

          4. ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญคือ ไม่สัมพันธ์กับบริบทที่แท้จริงที่ใช้ความสามารถนั้น ๆ ตามปกติ วิธีการประเมินผลการเรียนการสอนที่ดี ควรมีการประเมินหลาย ๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น ๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหา หรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น อีกวิธีหนึ่งคือการให้เรียนอยู่ในสภาพการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้สติปัญญาหลายด้าน หรือการให้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาหลาย ๆ ด้าน และสังเกตดูว่า ผู้เรียนเลือกใช้เชาวน์ปัญญาด้านใด หรือศึกษาและใช้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านใด มากเพียงไร