Home

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

             วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาสำคัญต่อการเรียนภาษาต่างประเทศ เพราะมันแยกออกจากภาษาไม่ได้ ผู้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงต้องเรียนรู้วัฒนธรรมไปพร้อมๆกัน ผู้สอนภาษาต่างประเทศจึงต้องมีความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

ความสำคัญของวัฒนธรรมเจ้าของภาษา

            ขณะที่คนพูดภาษาใดภาษาหนึ่งนั้น จะสะท้อนวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ออกมาด้วย แสดงให้เห็นว่าความสามารถทางภาษาอย่าเดียวไม่เพียงพอในการเรียนรู้ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เรียนจำเป็นต้องรับรู้วัฒนธรรมของภาษานั้นๆด้วย เช่น ภาษาที่ใช้ในการขอความช่วยเหลือ แสดงคำขอบคุณ แสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เป็นต้น นอกจากนั้นยังต้องรู้ถึงรูปแบบพฤติกรรมที่เหมาะสมในการพูดภาษา ซึ่งแต่ละชุมชนก็แตกต่างกัน
            ดังนั้น การสอนภาษาและวัฒนธรรมจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ครามัช กล่าวว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมนั้นผู้สอนต้องจัดบรรยากาศในห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้สำรวจวัฒนธรรมเป้าหมายได้ด้วยตนเอง ซึ่งนักวิจัยพบว่าการใช้สิ่งของของเจ้าของภาษากระตุ้นให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความคิด  เช่น อุปกรณ์การปรุงอาหารทำให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความคิดไปถึงอาหารที่กลุ่มคนในวัฒนธรรมเป้าหมายรับประทาน โยงไปถึงสภาพภูมิศาสตร์ฤดูกาลและอื่นๆ         ซึ่งวิธีนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

ส่วนประกอบของวัฒนธรรม

            Moran แบ่งส่วนประกอบของวัฒนธรรมออกเป็น 5 มิติ คือ
     1. Product หมายถึง สิ่งของที่คนในวัฒนธรรมนั้นประดิษฐ์ขึ้น หรือสิ่งที่คนในชุมชนนั้นรับมาจากวัฒนธรรมอื่น รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เช่น พืชและสัตว์ ผลผลิตที่สัมผัสได้ น เครื่องมือต่างๆ เสื้อผ้า งานเขียน และสิ่งก่อสร้างไปจนถึงสิ่งที่ละเอียดกว่านั้น เช่น ภาษาเขียน ภาษาพูด ดนตรี การเมือง และศาสนา
      2. Practice หมายถึง การประพฤติปฏิบัติ การปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในวัฒนธรรมนั้นๆ รวมไปถึงรูปแบบของภาษาต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารทั้งที่เป็นภาษาพูดและไม่ใช่ภาษาพูด รวมไปถึงข้อพึงปฏิบัติและข้อห้ามต่างๆ
     3. Perspective หมายถึง การรับรู้ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติที่แสดงออกในรูปแบบผลผลิตและการปฏิบัติ
   4. Community หมายถึง สถานการณ์และกลุ่มคนในสังคมที่ปฏิบัติตามวัฒนธรรม บริบท เริ่มจากชุมชนใหญ่ไปจนถึงชุมชนเล็กๆ เช่น ชาติ ภาษา เพศ เชื้อชาติ ศาสนา พรรคการเมือง ชมรม วัฒนธรรมชุมชน ชุมชนเล็กสัมพันธ์กับชุมชนใหญ่ ซึ่งลักษณะสัมพันธ์มีหลายมิติ เช่น สัมพันธ์ลักษณะแยก ร่วมกัน และขัดแย้งกัน  
    5. Person หมายถึง บุคคลในชุมชนที่มีความแตกต่างหลากหลาย แม้จะอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันแต่ว่าแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัว


          Tomalin and Stempleski แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 3 ส่วน คือ Product, Idea and behavior

                  Product      = วรรณคดี คติชาวบ้าน ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์ด้วยฝีมือคน
                  Idea            = ความเชื่อ คุณค่า/ค่านิยม สถาบัน
                 Behavior    = ประเพณี ลักษณะนิสัย การแต่งกาย อาหาร นันทนาการ

            นอกจากนั้น ยังแยกวัฒนธรรมเป็น 2 ส่วน คือ ซี ใหญ่ (Capital or big “C”) หมายถึง history geography literature arts and music ส่วน ซี เล็ก (little C) หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี ลักษณะนิสัย การแต่งกาย อาหาร การใช้เวลาว่าง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรม

            Peterson and Coltrane กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมดังต่อไปนี้

                    1. การใช้เนื้อหาจากสื่อจริง authentic material การเรียนรู้วัฒนธรรมเจ้าจองภาษาจากสิ่งของของเจ้าของภาษา ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ด้านวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาที่แท้จริง สื่อจริงได้แก่ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ เป็นต้น เช่น ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอเรียนรู้เกี่ยวกับการทักทาย โดยในขณะที่ดูวีดีโอผู้สอนอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่ฟังมากขึ้น
              2. สุภาษิต proverb การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุภาษิตนี้ผู้สอนให้ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับสุภาษิตของภาษเป้าหมาย เช่น ให้ผู้เรียนเรียนอภิปรายเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสุภาษิตในภาษาอังกฤษกับสุภาษิตในภาษาของผู้เรียนเอง ซึ่งความแตกต่างนั้นอาจมากจากพื้นฐานทางวัฒนธรรม
               3. Role play เช่น หลังจากที่ผู้เรียนเรียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมการปฏิบัติต่อกันของคนในวัฒนธรรมเป้าหมาย เช่น การปฏิบัติต่อกันในวัยเดียวกันและผู้ที่มีอายุมากกว่า ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติ โดยอาจยกสถานการณ์การทักทายที่ไม่เหมาะสม ผู้เรียนคนอื่นๆ สังเกตการแสดงและอภิปรายสาเหตุและเหตุผลที่มีการสื่อสารผิดพลาดเช่นนั้น และหลังจากนั้นผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติในสถานการณ์เดียวกัน แต่เป็นการสื่อสารที่ถูกต้องตามวัฒนธรรมเจ้าของภาษา
                     4. สรุปย่อเกี่ยวกับวัฒนธรรม กิจกรรมนี้ใช้สิ่งของของเจ้าของภาษา เช่น ตุ๊กตาปั้น 
เครื่องมือต่างๆ เครื่องประดับ โดยให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของนั้นๆ แล้วสรุปสั้นๆ นำเสนอโดยการพูดหน้าชั้นเรียน
                     5. ผู้เรียนเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม กิจกรรมนี้ทำได้โดย การเชิญเจ้าของภาษามา
พบปะพูดคุย ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมกับเจ้าของภาษา
                     6. Interview ผู้สอนให้ผู้เรียนสัมภาษณ์เจ้าของภาษาแล้วจดบันทึกหรือบันทึกวีดีโอ
                     7. Literature เป็นแหล่งให้ข้อมูลทางวัฒนธรรมที่ดีแหล่งหนึ่ง ผู้สอนให้ผู้เรียน
อ่านโคลงหรือวรรณกรรมแล้วให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลด้านวัฒนธรรมในวรรณกรรมนั้นๆ
                     8. Film ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีกว่าหนังสือ ผลการวิจัยต่างก็สนับสนุนว่าภาพยนตร์เป็น
สื่อที่เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนกับภาษาและวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนต่างลงความเห็นว่าความรู้ด้านวัฒนธรรมที่ผู้เรียนได้รับมากส่วนมากนั้นมากจากการดูวีดีโอหรือภาพยนตร์ต่างๆที่ผู้สอนนำมาจัดกิจกรรมมากกว่าการใช้สื่ออื่นๆ


            Cullen และ Sato กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนร็ทางวัฒนธรรมประสบความสำเร็จมี 3 ประการ คือ


            1. แหล่งข้อมูล information source
            2. Activity ปกติแล้วหนังสือเรียนต่างๆ ส่วนมากเน้นกิจกรรมวัฒนธรรม แต่เป็นกิจกรรมการ
อภิปราย เสียส่วยมากซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้วัฒนธรรมเป็นอย่างดี แต่ปัญหา คือ ความสามารถในการใช้ภาษาของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนบางคนไม่สามารถทำกิจกรรมอภิปรายได้ ดังนั้นผู้สอนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนก่อนที่จะทำกิจกรรมอภิปราย นอกจากนั้นแล้วยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายเช่น
                   2.1 quiz
                   2.2 อนุทินสะท้อนการปฏิบัติ
                   2.3 การเล่าใหม่
                   2.4 การสังเกต
                   2.5 การคาดเดา
                   2.6 การค้นคว้าวิจัย
          3. Selling point คือ ผู้สอนควรหาจุดขายหรือจุดที่ผู้เรียนสนใจหลายๆ ประเด็น ไม่ควรนำเสนอวัฒนธรรมด้านเดียวคือเฉพาะด้านบวกเท่านั้น แต่ควรนำเสนอหลายแง่มุมของวัฒนธรรม หัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ควรนำเสนอมีดังนี้
                        สิ่งที่ดึงดูดความสนใจ VS สิ่งที่ไม่ดึงดูดความสนใจ
                        ความเหมือน VS  ความต่าง
                        ด้านมืดของวัฒนธรรม VS ด้านสว่างของวัฒนธรรม
                        ประวัติศาสตร์ VS  ปัจจุบัน

            Cullen and Sato ยังเสนอหลักการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมดังนี้

             1. เชื่อมโยงกับผู้เรียน โดยการโยงเนื้อหาต่างๆ ให้สัมพันธ์กับผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจวัฒนธรรมมากขึ้น
                2. จัดการเรียนการสอนในรูปของกิจกรรมไม่ใช่เฉพาะการอภิปราย ผู้สอนควรออก
แบบกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากกิจกรรมอภิปรายอย่างเดียว เช่น การถามตอบ กิจกรรมสำรวจ เป็นต้น
                3. กำหนดความยากง่ายของภาษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียน ผู้สอนต้องเข้าใจว่า
ผู้เรียนไม่เข้าใจทุกอย่างที่ผู้สอนพูดและไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าใจทุกคำ เพราะการที่ผู้เรียนไม่เข้าใจทุกคำนั้นเป็นการท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้ แต่ถ้าเนื้อหายากเกินไปอาจทำให้ผู้เรียนเลิกสนใจ
          4 น่าสนใจ ผู้สอนเรียนรู้ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน แล้วบอกแบบกิจกรรมให้น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้นและอยากเข้าร่วมกิจกรรม
              5. กิจกรรมกลุ่ม

              6. ไม่ควรสอนเนื้อหามากเกินไป เพราะวัฒนธรรมเป็นเรื่องกว้างขวาง ผู้สอนไม่ต้องกังวล
ว่าจะสอนไม่ครบเนื้อหา แต่จงคิดว่าการช่วยให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้วัฒนธรรมของผู้อื่น ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีและต่อไปก็จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

1 ความคิดเห็น:

  1. มีหนังสทอหรือตำราแนะนำเกี่ยวกับภาษาอังกฤษและวัฒนธรรมไหมคะ ขอบคุณคะ

    ตอบลบ