Home

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบ 3P

การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบ  3P


           รูปแบบการสอนภาษาเพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ เป็นการบูรณาการวิธีการสอนต่างๆ วิธีสอนแบบ 3P หรือ 3 ขั้นตอน ได้แก่

           1. ขั้นนำเสนอP1 = Presentation )
               ครูนำเสนอบทเรียนในขั้นนำเสนอ โดยนำเสนอเป็นรูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร ( Whole Language ) ไม่แยกสอนเป็นคำ นักเรียนจะเข้าใจภาษานั้นโดยภาพรวม หลีกเลี่ยงการแปลคำ ต่อคำ การนำ เสนอต้องชัดเจน และตรวจสอบจนแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจสิ่งที่ครูนำ เสนอนั้น

           2. ขั้นฝึก ( P2 = Practice )
               ครูใช้กิจกรรมในขั้นฝึกอย่างหลากหลาย โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ฝึกหัดและพูดในกลุ่มใหญ่ ( Whole Group ) ก่อน เพื่อให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษา ฝึกกลุ่มย่อยโดยใช้การฝึกลูกโซ่ ( Chain Drill ) เพื่อให้โอกาสนักเรียนได้สื่อสารทุกคน ฝึกคู่ ( Pair Work ) เปลี่ยนกันถาม-ตอบ เพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ แล้วจึงให้นักเรียนฝึกเดี่ยว ( Individual ) โดยฝึกพูดกับครูทีละคน การฝึกเดี๋ยวนี้ครูจะเลือกนักเรียนเพียง 2-3 คน เพื่อทำ เป็นตัวอย่างในแต่ละครั้ง กิจกรรมขั้นนี้ใช้เวลา แต่นักเรียนจะได้ปฏิบัติจริง ครูเพียงแต่คอยกำ กับดูแลให้การฝึกดำ เนินไปอย่างมีความหมายและสนุก

          3. ขั้นนำไปใช้ ( P3 = Production )
              กิจกรรมขั้นนำเสนอผลงาน  เป็นขั้นที่นักเรียนจะนำ ภาษาไปใช้ ครูอาจจะให้ทำ แบบฝึกหัด อ่านและเขียนร้องเพลง หรือเล่นเกม ที่สืบเนื่องและเกี่ยวข้องกับภาษาที่เรียนมาในขั้นที่ 1 และ 2 อาจให้ทำงานเป็นการบ้านหรือสร้างสรรค์ผลงานใหม่จากความคิดของนักเรียนเอง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนได้เรียนเรื่องเวลา กำหนดเวลา ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเวลาแล้วก็สามารถคิดตารางเวลาเพื่อกำหนดการเดินรถโดยสารของตนเองโดยสมมุติได้ในการจัดกิจกรรมขั้นฝึกและนำ เสนอผลงาน สามารถนำกิจกรรมเสริมทางภาษาที่ครูมีความถนัด เช่น เกมทางภาษา เพลงหรือกิจกรรมเกี่ยวกับจังหวะ การวาดภาพ ฯลฯ มาใช้เพื่อช่วยส่งเสริมความคิด และช่วยให้การจัดการเรียนการสอนภาษาเป็นภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยสอนทักษะฟัง-พูด-อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆกัน ด้วยวิธีบูรณาการทักษะที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง


สื่อการเรียนการสอนในการจัดกิจกรรมรูปแบบ 3P 

                การจัดการเรียนการสอนภาษา เพื่อสื่อสารตามธรรมชาติจะใช้สื่อตามสภาพจริง ควบคู่กับสื่อที่ผลิตขึ้นมา สื่อดังกล่าว ได้แก่

                   1. ของจริง ( Reality )
                   2. ภาพที่ผลิตขึ้นเองและภาพจากหนังสือพิมพ์ ( Pictures )
                   3. วรรณคดีสำหรับอ่าน
                   4. ท่าทาง ( Gesture ) ให้นักเรียนฟัง ( Literature )
                   5. วิธีการและกิจกรรม ( Activities )

                   6. เพลงและเกม ( Songs and Games )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น