Home

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

วิธีการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skill)

การสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
( Teaching English 
Reading Skill )


        การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง ( Reading aloud ) และ การอ่านในใจ ( Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง ( Accuracy ) และความคล่องแคล่ว ( Fluency ) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งทีอ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย
เช่นเดียวกับการฟังต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ

1. เทคนิควิธีปฏิบัติ

      1.1 การอ่านออกเสียง  การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับโดยใช้เทคนิควิธีการดังนี้

            (1) Basic Steps of Teaching ( BST ) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
                    - ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง/นักเรียนฟัง
                    -ครูอ่านทีละประโยค/นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
                    -ครูอ่านทีละประโยค/นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว )
                    -นักเรียนอ่านคนละประโยคให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
                    -นักเรียนฝึกอ่านเอง
                    -สุ่มนักเรียนอ่าน

             (2) Reading for Fluency ( Chain Reading ) คือเทคนิคการ ฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไปเสมือนคนอ่านคนเดียว กันโดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่เช่นครูเรียก Chain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1, 11 ,21, 31, 41, 51 จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไปหากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใดถือว่าโซ่ขาดต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่หรือเปลี่ยนChain-numberใหม่

             (3) Reading and Look up คือเทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละ คนอ่านข้อความโดยใช้วิธีอ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็วคล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว

             (4) Speed Reading คือเทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคนอ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษรแต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำเป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว ( Fluency ) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ

             (5) Reading for Accuracy คือการฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงทั้งstress / intonation/cluster/final soundsให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading มาใช้ในการฝึกและเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการจะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง ( Accuracy ) และคล่องแคล่ว ( Fluency ) ควบคู่กันไป

     1.2 การอ่านในใจ ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่านมีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟังโดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading  ) กิจกรรมระหว่างการอ่านหรือขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading ) กิจกรรมหลังการอ่าน ( Post-Reading ) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิคดังนี้

           1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading ) การ ที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ จะได้อ่านโดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อ ช่วยสร้างความเข้าใจในบริบทก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้โดยทั่วไปมี 2 ขั้นตอนคือ

                -ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนาโต้ตอบระหว่างครูกับผู้เรียนหรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนเพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
                -ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านโดยอาจใช้รูปภาพแผนภูมิหัวเรื่อง ฯลฯที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่านแล้วนำสนทนาหรืออภิปรายหรือหาคำตอบ เกี่ยวกับภาพนั้นๆหรืออาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์เช่นขีดเส้นใต้หรือ วงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านหรืออ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใดเป็นการ เตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่านและค้นหาคำตอบที่จะได้จากการ อ่านสารนั้นๆหรือทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่านโดยอาจใช้วิธีบอกความหมายหรือทำแบบฝึกหัดเติม คำ ฯลฯ

            2) กิจกรรมระหว่างการอ่านหรือกิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading ) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้นกิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่านแต่เป็นการฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจกิจกรรม ระหว่างการอ่านนี้ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่นการฟังหรือการเขียนอาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อยเนื่องจาก จะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนากิจกรรม ที่จัดให้ในขณะฝึกอ่านควรเป็นประเภทต่อไปนี้

                    - Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์กับคำจำกัดความหรือจับคู่ประโยคเนื้อเรื่องกับภาพแผนภูมิ
                    - Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพแผนภูมิตามเนื้อเรื่องที่อ่านหรือเรียงประโยค ( Sentences ) ตามลำดับเรื่องหรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน ( Paragraph )
                    - Completing คือ อ่านแล้วเติมคำสำนวนประโยคข้อความลงในภาพแผนภูมิตารางฯลฯตามเรื่องที่อ่าน
                    - Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำสำนวนประโยคข้อความให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
                    - Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ( Multiple Choice ) หรือเลือกประโยคถูกผิด ( True/False ) หรือเลือกว่ามีประโยคนั้นๆในเนื้อเรื่องหรือไม่หรือเลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง ( Fact ) หรือเป็นความคิดเห็น ( Opinion )
                    -Supplying/Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence ) หรือสรุปใจความสำคัญ ( Conclusion ) หรือจับใจความสำคัญ ( Main Idea ) หรือตั้งชื่อเรื่อง ( Title ) หรือย่อเรื่อง ( Summary ) หรือหาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information )


            3) กิจกรรมหลังการอ่าน ( Post-Reading ) เป็น กิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้น จากการอ่านทั้งการฟังการพูดและการเขียนภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรม ระหว่างการอ่านแล้วโดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์สำนวนไวยากรณ์จาก เรื่องที่ได้อ่านเป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ความถูกต้องของคำศัพท์สำนวนโครง สร้างไวยากรณ์หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถาม เกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบสำหรับผู้เรียนระดับสูงอาจให้พูด อภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้นหรือฝึกทักษะการ เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น