เทคโนโลยีกับการสอนภาษาอังกฤษ
การเรียนรู้แบบผสมผสานภาษาและเทคโนโลยี
Blended Learning
Sharma and Barret กล่าวถึง
การเรียนรู้แบบผสมผสานภาษาและเทคโนโลยี ดังนี้
1. ความหมาย
Blended
Learning หมายถึงการเรียนภาษาในห้องเรียนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบ
F2F และการใช้เทคโนโลยี ซึ่ง คำว่า เทคโนโลยีนี้ครอบคลุม internet,
CD-ROM and Whiteboard
นักวิชาการได้ให้ความหมายของ blended learning หมายถึง
- การผสมผสานระหว่างกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนและการเรียนออนไลน์
- การทำกิจกรรมหรือแบบฝึกหัดผ่านระบบ e-learning และการเรียนในห้องเรียน
- การผสมผสานวิธีสอนต่างๆกับ web-based
-
กิจกรรมการเรียนรู่ที่หลากหลายโดยใช้วิธีสินและสื่อที่หลากหลาย
2. ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสอนภาษา
- ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เช่น การเล่นเกมคอมพิวเตอร์เพื่อฝึกภาษา
- สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้
- ให้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที เพียงแค่กดปุ่มเลือกคำตอบ
คะแนนก็จะปรากฏให้เห็นทันที
- ผู้เรียนสามารถฝึกภาษาได้ทุกที่ทุกเวลาเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอัตโนมัติ
(autonomous learner) โดยไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน
แต่เป็นที่ได้ก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ต
- ประหยัดเวลา โดยผู้สอนโพสต์รายวิชาต่างๆพร้อมสื่อลงบนเว็บไซต์ออนไลน์
ผู้เรียนสามารถเข้าไปทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายได้โดยไม่เสียเวลาและสิ้นเปลื้องในการถ่ายเอกสารแจกผู้เรียน
- มีประโยชน์ต่อการเรียนภาษาทั้ง 4 ทักษะ เช่น
ทักษะการฟัง ให้ผู้เรียนเรียนผ่าน web-based ซึ่งสามารถหยุดย้อนกลับมาฟังได้หลายๆรอบ
และเปิดดู script ได้
3. การสร้างสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและการสอนตามปกติ
- แยกบทบาทของครูและบทบาทของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีไม่ทำหน้าที่เหมือนผู้สอนได้ทุอย่าง เช่น
ผู้สอนทำหน้าที่วิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็นของผู้เรียน
ทำการทดสอบความสามารถทางภาษา แล้วเลือกใช้ซอฟแวร์ต่างๆเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วย เช่น Excel ในการประเมินการสอย
- สอนตามหลักการและทฤษฎี ผู้สอนต้องยึดหลักการสอนและต้องระลึกเสมอว่า
วิชาการสอนหรือวิชาครู (pedagogy) นำเทคโนโลยีเสมอ
- ใช้เทคโนโลยีเสริม F2F เช่น ใช้ เกมออนไลน์ในการพูด
การใช้เทคโนโลยีผสมกับการใช้ F2F จะเกิดผลมากกว่าการใช้เทคโนโลยีล้วนๆ
สื่อเทคโนโลยีที่ใช้สอนภาษาอังกฤษ
1. World Wide Web คือ เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ ออดิโอ วีดีโอ
การค้นหาต้องใช้ search engine ซึ่ง search
engine ที่เป็นที่รู้จักได้แก่
Google http://www.google.com
ค้นหาออดิโอหรือวีดีโอเกี่ยวกับสื่อที่ใช้ในการสอนฟัง
Podcast.net
Podcast.com
Ipodder.org
Postcastbunker.com
มัลติมีเดีย
สามารถค้นได้ที่
Bbc.co.uk/wordservice/learningenglish/newenglish
Abu.net/worldtoday
Eslbase.com
Www. cambrige.org.elt
Eselcafe.com
Englishclub.net
แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ
คำศัพท์และการใช้ภาษาตามสถานการณ์ต่างๆ
เกมภาษา
นอกจากนั้นครูยังสามารถผลิตสื่อออนไลน์ด้วยตนเอง
โดยวิธีที่ง่ายที่สุดในการผลิตสื่อ ผู้สอนสามารถใช้ authoring software เช่น hot potatoes ใช้ทำแบบฝึกหัด ได้ดังนี้ multiple-choice
quizzes, gap-gill tests, ordering and matching activities, crossword
2. IWB (interactive whiteboard) เป็น สื่อเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วย computer, projector and whiteboard ติดตั้งด้วย projector IWB มีหลายชนิดมีทั้ง soft surface คือ สามารถเขียนด้วย e-pen และ hard surface สามารถพิมพ์ลงไปที่คอมพิวเตอร์และใช้งานด้วยเมาส์ได้ IWB ใช้กับโปรแกรมทั่วไปได้ เช่น excel, Word and Powper Point และเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและโปรแกรมอื่นๆได้ เช่น CBI และ software xitg4m course books
3. สื่อและอุปกรณ์พกพา ใช้พัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ผู้เรียนสามารถฟังด้วยตนเอง หรือผู้สอนใช้สอนการออกเสียง สื่ออุปกรณ์พกพาที่สามารถนำไปใช้สอนภาษาอังกฤษ ได้แก่
3.1 โทรศัพท์มือถือและ PDA
อุปกรณ์เหล่านี้สามารถถ่ายรูปและคลิปวีดีโอได้ ใช้ได้กับ mp3
และเชื่อมต่อกับ headphone ได้
3.2 digital audio recorder
3.3 digital Dictaphone เป็นอุปกรณ์ที่เล็ก
มไมโครโฟนและลำโพงในตัว สามารถแปลง audio เพื่อเล่นกับคอมได้
3.4 Mp3 player
3.5 digital camera
3.6 digital camcorder
4.
คอมพิวเตอร์สื่อสาร Computer-Mediated Communication – CMC หมายถึงการสื่อสารผ่านคีย์บอร์ดกับเพื่อนคนละขั้วโลก
โดยการส่งอีเมลล์ หรือการใช้โทรศัพท์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แบ่งออกได้เป็น 2
ประเภท คือ 1. Synchronous คือ
การสื่อสารที่เกิดขึ้นในขณะนั้น (real time) เช่น
การพูดโทรศัพท์ และ skype 2. Asynchronous คือ
การสื่อสารที่เกิดขึ้นต่างเวลา เช่น E-mail ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรง
แต่มีประโยชน์สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการที่จะฝึกภาษาในสถานการณ์จริง เช่น
นักเรียนที่ประเทศเกาหลีและประเทศบราซิลติดจ่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
4.1 Text chat เป็นการสื่อสารแบบ
synchronous ซึ่งผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านการเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรผ่านทางคอมพิวเตอร์
มีหลายรูปแบบ เช่น Chat หนึ่งต่อหนึ่ง หรือ แชทรูม text
chat ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถทางภาษา เช่น
การพิมพ์ข้อความโต้ตอบนั้นต้องมีความคล่องแคล่วทางด้านภาษาและสมาธิ
และเมื่อคนรับสารไม่เข้าใจ จะต้องมีกลวิธีการสื่อสาร ทำให้เกิดการ “negotiation
of meaning” คือ การถามย้อนกลับไปว่า what do you mean? หรือ I don’t understand
4.2 Moos
(Multi-object Orientation) เป็นโปรแกรมแชทมากกว่า สองคน ขึ้นไป
มีหลายรูปแบบ เช่น ที่เป็น text-based หรือ ที่มีกราฟิก หรือ
ที่มี private chat room เช่น คนที่นิยมเข้าไปเรียน ESL
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มผู้เรียน
ผู้เรียนสามารถคุยเป็นกลุ่มหรือคู่ได้และยังมีเกมให้เล่นฝึกภาษา
4.3 E-mail เช่น
ผู้สอนอาจจะให้ผู้เรียนส่งงานทางอีเมลล์ เมื่อผู้สอนตรวจเสร็จก็ส่งอีเมลล์กลับ
การตรวจงานใช้สีหลายสีได้ ทำให้ผู้เรียนเห็นข้อผิดพลาดได้ชัดเจน
4.4 Forum and Bulleting board เป็นการสื่อสารออนไลน์ โดยการฝากข้อความลงใน Forum เช่น
BBC website เพื่ออ่านบทความและโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นได้
Bulletin board เป็นกระดานประกาศ
ผู้ใช้สามารถโพสต์ข้อความหรือประกาศให้ผู้ใช้อื่นๆ เข้ามาอ่านได้
4.5 Video Conferencing
4.6 Telephone audio
conferencing การใช้ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น skype
4.7 Virtual Learning
Environment คือ web-based ประกอบไปด้วยเครื่องมือสื่อสาร
เช่น e-mail and discussion board เครื่องมือในการลงทะเบียนเรียน
และการทดสอบ
5. การสร้างและการใช้แหล่งเรียนรู้
5.1 blog มีลักษณะเป็นอนุทินหรือไดอารี่ออนไลน์
มีวันที่ หัวข้อและข้อความที่โพสต์ สามารถโพสต์ข้อความหรือรูปภาพก็ได้ และลิงค์ไป web
page อื่นๆได้ด้วย
5.2 Podcast การสร้างค่อนข้างซับซ้อน
คอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ในการสร้างนั้นต้องมีการ์ดเสียง ไม่โครโพน และลำโพง
ในการบันทึก และในการ convert ลงใน mp3 จำเป็นต้องมี เครื่องบันทึกเสียงและ mp3encorder
5.3 Wikis คือ website
ที่ ผู้ใช้สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงเนื้อหา เพิ่มเติมหรือลบข้อมูลได้
ผู้เรียนสามารถเรียนเป็นกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
เมื่อแต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายงานก็จะโพสต์ลงใน wiki ให้เพื่อนช่วยกันแก้ไขให้ได้งานที่สมบูรณ์
เป็นการฝึกทักษะการเขียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
คอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา
Beatty อธิบายเกี่ยวกับ CALL
1. ความหมาย
คอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา (Computer-assisted Language Learning
- CALL) หมายถึง
กระบวนการที่ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาการเรียนภาษา CALL จึงครอบคลุมไปถึง การออกแบบสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีและทฤษฎีเกี่ยวกับการสอน
2. ลักษณะ
2.1 hypertext คือ
การลิงค์ระหว่างข้อความ ผู้ใช้คลิกเมาส์เลือกรายการที่จะลิ งค์ไปสู่ข้อหรือเนื้อหาที่ต้องการ
หรือคลิกที่คำใดคำหนึ่งเพื่อไปสู่ดิกชั่นนารีเพื่อดูความหมาย
2.2 hypermedia เหมือนกับ
hypertext แต่ hypermedia จะลิงค์ไปสู่สื่อต่างๆ
เช่น เสียง ภาพ แอนิเมชั่น และวีโอ เช่น
คำหรือภาพลิงค์ไปสู่ไฟล์เสียงทำให้มีคำอธิบายภาพ
2.3 multimedia สามารถลิงค์สื่อหลายๆชนิดเข้าด้วยกัน
ได้แก่ ข้อความ ภาพ เสียง วีดีโอและแอนิเมชั่น
3. การประยุกต์ใช้
3.1 Word Processing ประยุกต์เข้ากับ คอล
ในส่วนของการตรวจสอบการสะกดคำในขณะที่ผู้เรียนพิมพ์ข้อความเป็นการฝึกทักษะการเขียน
เช่น Microsoft Word
การใช้โปรแกรมดิกชั่นนารีเพื่อค้นความหมายของคำและตรวจสอบแกรมม่า
3.2 เกม โดยมีเป้าหมายในด้านเรียนการสอน
คอมพิวเตอร์เกมประกอบไปด้วย กติกาและระดับความยากง่าย ซึ่งจะแสดงผลด้วยคะแนน เช่น Hangman
หรือ Quiz game
3.3 วรรณกรรม
เป็นแหล่งข้อมูลจริงและเป็นสื่อจริง CALL จะสร้างแรงจูงใจมากกว่าการอ่านในหนังสือ
เพราะสามารถลิงค์ไปที่ภาพ วีดีโอ หรือดิกชั่นนารีได้ด้วย
3.4 คลังข้อมูลภาษา (corpus linguistic) หมายถึง เนื้อหาภาษาที่อยู่ในรูปของภาษาพูดและเขียน เช่น
คำศัพท์คำที่เราต้องการ อยากรู้ว่าอยู่ในลักษณะใดบ้างก็จะปรากฏคำนั้นตามบริบทต่างๆในประโยคที่แสดงมากกว่า
1 ประโยค
4. CALL กับการเรียนรู้ภาษาที่สอง
เพราะการออกแบบที่มุ่งเน้นสไตล์การเรียนรู้ด้วยการทำแบบทดสอบ
ซึ่งผู้สอนสามารถวิเคราะห์ได้ว่าข้อสอบข้อใดผู้เรียนทำได้หรือไม่ นอกจากนั้น CALL ยังแสดงถึงตัวป้อนที่เหมาะสม
สอดคล้องตามทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่สองของคราเชน แล้ว CALL
ยังประกอบไปด้วยสิ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาได้ดีผ่าน เสียง ภาพ
แอนิเมชั่นและวีดีโอ
5. CALL กับ Constructivism
CALL
นำความรู้มาจัดรูปของ hypertext, hypermedia and multimedia ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี
schema ของ Nunun ว่าเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการทางภาษาที่แสดงให้เห็นถึงการตีความที่บ่งบอกถึงความรู้ภูมิหลังของผู้อ่านและฟัง
ความรู้ของผู้เรียนจะถูกจัดเป็นระบบในสมองด้วยประสบการณ์เดิมที่จะไปเป็นพื้นฐานสู่ประสบการณ์ในอนาคต
6. CALL กับการเรียนร่วมมือ
CALL กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาและการเรียนร่วมมือ
ซึ่งเป็นการฝึกทักษะร่วมมือและสื่อสารให้แก่ผู้เรียน
กิจกรรมจึงอยู่ในรูปของกลุ่มที่มีสมาชิกมาจากพื้นฐานทางภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
และยังสร้างสังคมได้กว้างกว่าการเรียนในชั้นเรียนปกติที่ไม่บูรณาการ CALL เช่น การใช้ Moos ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ผ่านออนไลน์ในเวลาจริงและยังมีการต่อรองความหมาย
ต่างจากการเรียนในห้องเรียนซึ่งเป็นการจำกัดโดยการควบคุมโดยผู้สอนเท่านั้น
นอกจากนั้นการเรียนร่วมมือยังเปิดโลกกว้างแก่ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระและเกิดการเรียนรู้อย่างอัตโนมัติสามารถเลือกเรียนได้คามความต้องการและถนัดของตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น