Home

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles)

              

รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles)


              วิธีการเรียน หมายถึง พฤติกรรมของผู้เรียนในการจัดการเรียน ซึ่งแตกต่างกันตามระดับสติปัญญา สภาพแวดล้อมทางการเรียน และลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งแนวคิดวิธีการเรียนที่เป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ


1. แนวคิดของ Anthony F. Grasha and Sheryl Reichman จะแบ่งผู้เรียนในชั้นเรียนเป็น 6 แบบ

          1.1 แบบอิสระ independent style
                 - ชอบคิด ชอบทำงานด้วยตนเอง
                 - ฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้น
                 - เชื่อมั่นในความสามารถในการเรียนรู้ของตนเอง
                 - เรียนรู้เนื้อหาที่ตนคิดว่าสำคัญ

          1.2 แบบหลีกเลี่ยง avoidant
                - ไม่สนใจรายวิชาที่เรียนในห้องเรียน
                - ไม่ให้ความร่วมมือกับครูและเพื่อน
                - ไม่ใสใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน

          1.3 แบบร่วมมือ Collaborative
               - รู้สึกว่าเรียนได้ดีเมื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและไหวพริบ
               ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น
               - ให้ความร่วมมือกับครูและเพื่อนร่วมชั้น
               - มองห้องเรียนว่าเป็นแหล่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และเป็นแหล่งเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชา

          1.4 แบบพึ่งพา dependent
                - ไม่มีความอยากรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชา
                - เรียนเฉพาะสิ่งที่กำหนดให้ในรายวิชา
                - พึ่งครูและเพื่อนที่เขาคิดว่าจะเป็นแหล่งและผู้สนับสนุนทางวิชาการ
                - ทำตามแนวทางผู้มีอำนาจ
                - ต้องการทำงานตามคำบอก

          1.5 แบบแข่งขัน competitive
                - เรียนเพื่อให้ได้ผลการเรียนมากกว่าเพื่อนร่วมชั้น
                - ต้องการของรางวัลในชั้นเรียน
                - มองห้องเรียนว่าเป็นสนามแข่งขัน
                - ต้องการเอาชนะเพื่อนร่วมชั้น

          1.6 แบบมีส่วนร่วม participant
                - ต้องการเรียนรู้เนื้อหาวิชา
                - ต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุดในกิจกรรมในห้องเรียน
                - รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
                - รับผิดชอบในการรับรู้เนื้อหาวิชาในชั้นเรียนได้ดี
                - ไม่ต้องการหรือต้องการน้อยที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรายวิชา

2. แนวคิดของ David A. Kolb ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ แบ่งวิธีการเรียนตามแบบการคิด cognitive style แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

          2.1 แบบนักคิดทางเดียว Convergent
                - ตัดสินใจเลือกจากทางเลือกที่หลากหลาย
                - มุ่งที่ความพยายาม
                - ตรวจสอบสมมุติฐาน
                - ประเมินแผนและโครงการ

          2.2 แบบช่างคิด Divergent
                - สร้างโอกาสและทางเลือกที่หลากหลาย
                - สร้างจินตนาการการสืบหารูปแบบใหม่ๆ
                - ชอบการ brainstorming
                - มีความสามารถในการรับรู้ และมีส่วนร่วมในประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม
                - ยอมรับปัญหา
                - สามารถคิดไตร่ตรองให้เห็นเป็นภาพรวมได้

          2.3 แบบเจ้าหลักการ Assimilative
                - สามารถสรุปหลักการ สร้างกฎเกณฑ์ พัฒนาทฤษฎี
                - สนใจหลักการเชิงนามธรรม กำหนดสมมุติฐาน
                - ชี้หรือทำความเข้าใจปัญหาได้ดี มองเห็นประเด็นของปัญหา
                - เปรียบเทียบทางเลือก

          2.4 แบบนักปฏิบัติ Executive
                - กำหนดตำแหน่งหรือแนวคิด
                - กำหนดวัตถุประสงค์
                - มีตารางการทำงานที่แน่นอน
                - ทดลองและปฏิบัติตามแนวทางที่เลือก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น